รหัส BCD – 8421 (Binary Code Decimal) เป็นรหัสที่ใช้กันบ่อย มีตัวเลขทั้งสิ้น 10 ตัวเริ่ม ตั้งแต่ 0000 - 1001 สังเกตว่าเลขแต่ละตัวจะประกอบด้วยเลขฐาน สองจ านวน 4 ตัว เรียกว่า 4 บิต เริ่มตั้งแต่บิต 0 จนถึงบิต 3 แต่ละบิตมีลักษณะไม่เหมือนกันดังแสดง
รหัส BCD – 8421 เปรียบเทียบกับเลขฐานสิบ
เลขฐานสิบ BCD – 8421
0 0000
1 0001
2 0010
3 0011
4 0100
5 0101
6 0110
7 0111
8 1000
9 1001
รหัสนี้ถูกพัฒนามาจากรหัส BCD–8421 เพราะว่าในกรณีที่มีการนำเอาเลขมาบวกกัน เช่น 7+5 = 12 หรือ 0111+0101 =1100 ผลลัพธ์ 1100 นี้ไม่มีในรหัส BCD – 8421 จึงได้มีการคิดหา รหัสเลขฐานแปดและเล ขฐานสิบหกนี้มาใช้แทน ซึ่งถ้ามีการพิจารณาทีละ 3 บิตจะหมายถึงรหัสเลข ฐานแปดและถ้าพิจารณาทีละ4 บิตจะเป็นรหัสเลขฐานสิบหก
รหัสเกิน 3 ดัดแปลงมาจากรหัส BCD – 8421 เมื่อเปรียบเทียบรหัสเกิน 3 กับรหัส BCD – 8421 ตามตาราง ที่ 3.3 จะเห็นได้ว่ารหัสเกิน 3 จะมีค่ามากกว่ารหัส BCD – 8421 อยู่ 3
ตารางที่ 3.3การเปรียบเทียบระหว่างรหัส BCD – 8421 กับรหัสเกิน 3
เลขฐานสิบ รหัส BCD – 8421 รหัสเกิน 3
0 0000 0011
1 0001 0100
2 0010 0101
3 0011 0110
4 0100 0111
รหัสเกรย์ (Gray Code) ใช้กันมากในระบบการตรวจจับสัญญาณด้วยแสง หรือระบบ ที่ทำ ด้วยแกนหมุนทางกลไกล เพื่อบอกตำแหน่งของเพลาหมุน รหัสแบบนี้เป็นแบบ Non Weighted ใน ระหว่างกลุ่มรหัส (Code Group) ที่เรียงลำดับกันไปจะมีการเปลี่ยนแปลงของรหัสครั้งละ 1 บิต เท่านั้น ทำให้โอกาสความผิดพลาดในการรับรหัสเป็นไปได้น้อยมาก
การเปลี่ยนรหัสเลขฐานสองให้เป็นรหัสเกรย์ สามารถทำได้โดยนำบิตที่ 2 ดึงลงมาเป็น คำตอบต่อจากนั้นนำเอาบิตที่ 2 และบิตที่ 1 มาเปรียบเทียบกัน ถ้าบิตทั้งสอง ต่างกันผลลัพธ์ที่ได้จะ เป็น “1” เสมอ แต่ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว บิตทั้งสองเหมือนกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็น “0” จากนั้นทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงบิตสุดท้าย