top of page

         สมการลอจิกสามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ

1. การบวกของผลคูณ (Sum of Product ; SOP) หมายถึง การนำตัวแปรที่อยู่ในรูปปกติ หรือในรูปคอมพลีเมนต์มาแอนด์ (AND) กัน จากนั้นนำแต่ละเทิร์มมาออร์ (OR) กันอีกครั้งหนึ่ง เราเรียกเทิร์มที่แอนด์กันนี้ว่า มินเทิร์ม (Minterm) ถ้าฟังก์ชัน SOP ใดที่แต่ละเทอมมีตัวแปรครบทุกตัว จะเรียกฟังก์ชันนั้นว่า คานอนิเคิล ซัม (Canonical Sum)

2. การคูณของผลบวก (Product of Sum ; POS) หมายถึง การนำตัวแปรที่อยู่ในรูปปกติ หรือในรูปคอมพลีเมนต์มาออร์ (OR) กัน จากนั้นนำแต่ละเทิร์มมาแอนด์ (AND) กันอีกครั้งหนึ่ง เราเรียกเทิร์มที่ออร์กันนี้ว่า แมกซ์เทิร์ม (Maxterm) ถ้าฟังก์ชัน POS ใดที่แต่ละเทิร์มมีตัวแปรครบทุกตัว จะเรียกฟังก์ชันนั้นว่า คานอนิเคิล โปรดักต์ (Canonical Product)

       ขั้นตอนการเขียนสมการเอาต์พุต สรุปได้ดังนี้

1. ในกรณีฟังก์ชันการบวกของผลคูณ (SOP)

    1.1 สมการลอจิกจะพิจารณาเฉพาะที่เอาต์พุตมีสภาวะลอจิก 1

    1.2 นำมินเทิร์มมาออร์ (OR) กัน

2. ในกรณีฟังก์ชันการคูณของผลบวก (POS)

    2.1 สมการลอจิกจะพิจารณาเฉพาะที่เอาต์พุตมีสภาวะลอจิก 0

    2.2 นำแมกซ์เทิร์มแอนด์ (AND) กัน

ไดอะแกรมเวลา หรือที่เรียกว่า ไทมิงไดอะแกรม (Timing Diagram) คือ รูปกราฟของสัญญาณสี่เหลี่ยม หรือสัญญาณพัลส์ (Pulse) ของอินพุตและเอาต์พุต ซึ่งมีความสัมพันธ์กันที่เวลาต่าง ๆ ดังนั้น จึงสามารถออกแบบวงจรลอจิกจากไดอะแกรมเวลาได้ มีขั้นตอนดังนี้

1. เขียนตารางความจริงจากไดอะแกรมเวลา

2. จากตารางความจริงเขียนเป็นสมการรูปแบบมินเทิร์ม (Minterm)

3. จากมินเทิร์มใช้ทฤษฎีพีชคณิตบูลีนลดรูปสมการให้สั้นลง จากนั้นจึงเขียนเป็นวงจรลอจิก

การเขียนสมการลอจิกจากวงจรลอจิก จะพิจารณาจากลอจิกเกตทางด้านอินพุตเรื่อยไปจนกระทั่งถึงเอาต์พุต ดังนี้

1. เขียนสมการจากเอาต์พุตของเกตต่าง ๆ

2. นำสมการที่เขียนไว้ในแต่ละเกตมารวมกันตามคุณสมบัติของเกตชนิดต่าง ๆ

unnamed.png

คลิ๊กเพื่อดูวีดีโอ

ขอบคุณคลิปวีดีโอจากช่อง 34 อานนท์ หรุ่นขํา

unnamed (1).png

คลิ๊กเพื่อดูเนื้อหาเพิ่มเติม

test-clip-art-cpa-school-test_edited.png

คลิ๊กเพื่อทำแบบทดสอบ

bottom of page